ค่าใช้จ่าย ในการซื้อขายโอน บ้าน ที่ดิน คอนโด อาคารพาณิชย์ ตึกแถว
- ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากอัตราปกติ 2.00% เหลือ 0.01% สำหรับอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือห้องชุด ราคาซื้อขายและราคาประเมินไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง จากอัตราปกติ 1.00 % เหลือ 0.01% ในการจดทะเบียนจำนองในคราวเดียวกันกับการโอนซื้อขาย วงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท
ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 กรมที่ดินประกาศลดค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ จาก 2.00% เหลือ 0.01% และค่าธรรมเนียมการจำนอง จากอัตราปกติ 1.00 % เหลือ 0.01%
ค่าธรรมเนียมปกติ(หลัง 31 ธันวาคม 2565)
- ค่าธรรมเนียมการโอน 2% โดยคิดจากราคาประเมินเท่านั้น
- ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน ถ้าต่ำกว่าให้ใช้ราคาประเมินคำนวณ
- ค่าภาษี ธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาขาย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ นี้ จะคิดกับอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาแล้วขายออกไปภายในเวลา ไม่เกิน 5ปี (หากมีการย้ายทะเบียนบ้านเจ้าบ้านเข้าอยู่ เกินกว่า 1 ปี ได้รับยกเว้นค่าภาษีนี้) ทรัพยสินที่เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้แล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรในข้อ2
- ค่าภาษีเงินได้ (ภงด.) มีการคิดแบบ ขั้นบันไดภาษี หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามจำนวนปีถือครอง (หลายขั้นตอน) โดยคิดจากราคาประเมินเท่านั้น
- ค่าจดจำนอง หากบ้าน หรือที่ดิน ที่ซื้อขายกันมิได้ซื้อสด จำนองต่อกับธนาคาร จะเสียค่าจำนอง 1% ของมูลค่าจำนอง
- ค่าอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ 20บาท ค่าอากรตาม ป.37 5 บาท ค่าพยาน 20บาท
การคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ข้างต้นบางข้อค่อนข้างซับซ้อน เช่นในข้อ 4 ค่า ภงด.จะต้องหาราคาประเมินที่ดิน ราคาประเมินสิ่งก่อสร้าง จำนวนปีถือครองแล้วมาหักค่าเสื่อม ฯลฯ อีกหลายขั้นตอน ลองคิดแบบโดยประมาณ คร่าวๆ คือ คชจ.ทั้งหมดยกเว้น ข้อ5 . ให้คำนวณจากราคาประเมิน คูณ 5%)
ค่าธรรมเนียมการโอน:
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( หัก ณ ที่จ่าย ) = ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
2. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม ( ค่าโอน ) = 2 % จากราคาประเมินของกรม
3. ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) = 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนที่กู้ทั้งหมด)
4. ค่าอากรแสตมป์ (ชำระอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง อากรแสตมป์ หรือธุรกิจเฉพาะ) = 0.50% ตามราคาซื้อขายแต่ ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม
5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ( ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกินหนึ่งปี) = 3.3% ของราคาซื้อขายที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรม
โดยทั่วไปค่าภาษีเงินได้ ผู้ขายควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าจดจำนอง ผู้ซื้อควรเป็นผู้ออก ส่วนค่าธรรมเนียมส่วนอื่น ก็แ่ล้วแต่ตกลงกันว่าใครจะออกเท่าใด (จะออกคนละครึ่งหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกทั้งหมด) แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้มีกฎตายตัวว่าใครต้องออกส่วนใดบ้าง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ขายบางรายอาจให้ผู้ซื้อออกค่าโอนและค่าภาษีทุกอย่าง หรือผู้ขายบางรายอาจเป็นคนออกทั้งหมด (โดยที่ผู้ขายได้บวกค่าโอนต่างๆ เหล่านี้ไปในราคาขายแล้ว)
ทั้งนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนต่างๆ ก่อนทำการตกลงซื้อขายหรือก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะอาจมีการโต้เถึยงเกิดขึ้นได้ในวันโอน ทางที่ดีควรรวมรายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายด้วยเพื่อป้องกันการโต้เถียงกันภายหลัง
ผู้ซื้อบ้านจากโครงการ ก็ควรอ่านรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมการโอนให้ละเอียด บางโครงการที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ มักปัดภาระมาให้ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายในการโอนทั้งหมด ซึ่งดูไม่ค่อยจะยุติธรรมสำหรับผู้ซื้อเท่าไหร่